วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประเพณีลอยโคม

ประเพณีลอยโคม


                                ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประเพณีลอยโคม


ประเพณีหนึ่งที่ชาวล้านนาถือปฏิบัติคู่ไปกับประเพณียี่เป็งก็คือการลอยโคม การลอยโคมของชาวล้านนาเป็นการปล่อยโคมขึนไปสู่ท้องฟ้า แทนการลอยกระทงในลำน้ำอย่างประเพณีของคนภาคกลาง ชาวล้านนาเชื่อว่าการจุดโคมลอย แล้วปล่อยขึ้นฟ้า เป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ และยังเป็นการปล่อยทุกข์ปล่อยโศก และเรื่องร้าย ให้ออกไปจากตัว ชาวล้านนาเชื่อกันว่า ในวันประเพณียี่เป็ง ชาวล้านนาที่เกิดปีจอต้องนมัสการพระธาตุแก้วจุฬามณีซึ่งเป็นสถานที่บรรจุมวยผมของเจ้าชายสิทธัตถะที่ปลงออกก่อนจะบวช แต่เนื่องจากเจดีย์นี้เชื่อกันว่าอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ชาวล้านนาที่เกิดปีจอจึงต้องอาศัยโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าแทนเครื่องบูชาพระธาตุเกศแก้วจุฬามณ แต่เดิมประเพณีลอยโคมนี้คนไทยได้รับอิทธิพลมาจากพิธีทางพราหมณ์ที่จะทำการลอยโคมเพื่บูชาเทพเจ้า เมื่อชาวไทยรับเอาอิทธิพลของพราหมณ์เข้ามา จึงนำพิธีลอยโคมมาใช้สำหรับบูชาพระบรมสารีริกธาตุ บูชาพระพุทธบาท ณ ริมหาดแม่น้ำนัมฆทานที ในประเทศอินเดียในคืนวันลอยกระทง หรือประเพณียี่เป็งของชาวล้านนา ซึ่งในคืนยี่เป็งของจังหวัดทางภาคเหนือ ท้องฟ้าจงสว่างไสวไปด้วยแสงจากโคมลอยที่ชาวล้านนาจุดขึ้นและปล่อยลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า เป็นภาพที่สวยงามน่าประทับใจสำหรับผู้ที่พบเห็นโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยและช่างต่างชาติ


ประเพณีการลอยโคมนั้น เป็นส่วนหนึ่งของประเพณียี่เป็ง ที่จัดขึ้นกันในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี ซึ่งชาวเหนือนั้นจะมีการจัดการลอยโคม ร่วมไปกับการจัดงานยี่เป็ง และงานลอยกระทง มีงานมหรสพสมโภชตลอดช่วงเวลาจัดงานประเพณีทั้งสามวัน การลอยโคมมักจะถูกปล่อยในทุกช่วงของประเพณีเลยทีเดียว
สำหรับการประเพณีการปล่อยโคม จะมีประวัติ จากความเชื่อเรื่องของพุทธศาสนา โดยมีความเชื่อว่า เป็นการปล่อยเพื่อบูชาสักการะ พระเกศแก้วจุฬามณี ที่ประดิษฐานบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เจดีย์แห่งนี้จะประดิษฐานพระทันตธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาไว้ ซึ่งพระเกศแก้วจุฬามณีนั้น เป็นสถานที่ที่มนุษย์ไม่สามารถเดินทางไปสักการะได้ ทำให้มีการใช้โคมลอย ปลอยขึ้นท้องฟ้า เพื่อเป็นการบูชาพระเจดีย์จุฬามณีนั่นเอง โดยเฉพาะคนที่เกิดปีจอ ที่มีพระเกศแก้วจุฬามณี เป็นพระธาตุประจำปีเกิด จึงต้องหาโอกาสปล่อยโคมลอย หรือมาสักการะบูชาพระเกศแก้วจำลอง ที่วัดเกตการาม จังหวัดเชียงใหม่ ให้ได้สักครั้งในชีวิต

นอกจากนั้น ยังมีความเชื่อว่า การปล่อยโคมลอย จะช่วยให้ปล่อยเคราะห์ ปล่อยโชคร้ายที่เกิดขึ้นกับชีวิตออกไปกับโคมอีกด้วย ตลอดจนเพื่อความเป็นสิริมงคลกับชีวิต และหน้าที่การงาน


โคมลอยที่ใช้ปล่อยนั้นมีหลายขนาด แต่วัสดุที่ใช้ทำโคม จะมีโครงไม้ไผ่น้ำหนักเบา , กระดาษสา  และตะเกียงน้ำมัน ใส่ไส้ตะเกียงสำหรับการจุดไฟให้ลุก เมื่อทำการจุดตะเกียง ความร้อนจากเปลวไฟ จะดันส่งให้ตัวโคมนั้นลอยขึ้นสู่ท้องฟ้า ระยะเวลาการลอยนั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดของโคม

สำหรับการปล่อยโคมนั้น สำหรับชาวล้านนาจริงๆ แล้วจะนิยมปล่อยกันครอบครัวละ 1 โคม เพื่อไม่ให้เป็นการสิ้นเปลืองและรบกวนธรรมชาติมากนัก แต่ปัจจุบันการปล่อยโคมเป็นการท่องเที่ยว เชิงพาณิชย์มากขึ้น ทำให้วัตถุประสงค์หลักในการปล่อยโคมดั้งเดิมนั้นสูญหายไป 



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประเพณีลอยโคม


ประเพณียี่เป็งเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่แห่งดินแดนล้านนา ที่ได้ปฎิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล "ยี่เป็ง" หรือวันเพ็ญเดือนยี่ของชาวล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือน 12 อันเป็นช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว อากาศปลอดโปร่งท้องฟ้าแจ่มใส ธรรมเนียมปฎิบัติของชาวล้านนาอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการลอยกระทงในแม่น้ำก็คือ การจุดประทีปโคมลอยขึ้นไปสว่างไสวบนท้องฟ้า โดยมีคติความเชื่อว่า เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์  กิจกรรมในงานยี่เป็งนี้จะมีพิธีทอดมหากฐินสามัคคีซึ่งจะจัดขึ้นก่อนในช่วงบ่าย และได้ร่วมกันน้อมรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยการจุดประทีป และลอยโคมขึ้นสู่ท้องฟ้าถวายเป็นพุทธบูชา สร้างความสว่างไสว ทำลายความมืดมิดในยามราตรี  
ในภาษาคำเมืองของทางเหนือ “ยี่” แปลว่า สอง และคำว่า “เป็ง” หมายถึง เพ็ญ หรือพระจันทร์เต็มดวง ดังนั้นจึง หมายถึงประเพณีพระจันทร์เต็มดวงในเดือนสอง โดยในพงศาวดารโยนกและจามเทวี มีบันทึกว่าครั้งหนึ่งได้เกิด อหิวาตกโรคขึ้นในแคว้นหริภุญไชย ทำให้ชาวเมืองต้องอพยพไปอยู่เมืองหงสาวดี นานถึง 6 ปี จึงจะเดินทางกลับ มายัง บ้านเมืองเดิมได้ เมื่อเวลาเวียนมาถึงวันที่จากบ้านจากเมืองไป จึงได้มีการทำกระถางใส่เครื่องสักการบูชา ธูปเทียนลอย ลอยตามน้ำ เพื่อให้ไปถึงญาติพี่น้องที่ล่วงลับไป เรียกว่า การลอยโขมด หรือลอยไฟ
โคมลอย นิยมลอยกันในเทศกาลลอยกระทง ทางภาคเหนือเรียกว่าประเพณี ยี่เป็ง เป็นประเพณีลอยกระทงของชาวล้านนา ซึ่งหมายถึงวันเพ็ญเดือน 2 เป็นการนับเดือนตามจันทรคติ โดยคำว่า ยี่เป็ง เป็นภาษาเหนือ ยี่ แปลว่า สอง และคำว่า เป็ง ตรงกับคำว่า เพ็ง หรือ เพ็ญ หมายถึงพระจันทร์เต็มดวง คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 2 นั่นเอง ฃและที่ ที่ธุดงคสถานล้านนา มีการจัดงานลอยโคม “ยี่เป็งสันทรายถวาย พุทธบูชา” เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านของไทย …นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2532 เป็นต้นมา ธุดงคสถานล้านนา จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยอำเภอสันทราย และสถาบันการศึกษา วัด และหน่วยงานภาครัฐ-เอกชน ได้ร่วมกันสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนา และประกอบพิธีจุดประทีป และโคมลอยเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ประเพณีลอยโคมที่เชียงใหม่ โคมลอย ที่ใช้ลอยกลางคืน นิยมใช้กระดาษสีขาว เนื่องจากจะโปร่งแสงเมื่อลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วขนาดก็จะย่อมกว่าโคมลอยกลางวัน วิธีการปล่อยจะใช้เชื้อไฟ หรือขี้ไต้ จุดเพื่อให้ความร้อนส่งโคมลอยขึ้นบนฟ้า จะมีการเพิ่มเติมดอกไม้ไฟน้ำตก ดาวตก ประทัด เพื่อเพิ่มสีสันอีกด้วย กุศโลบายของการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า ก็เพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์รวมทั้งเชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ ให้ประสพแต่สิ่งดีงาม สร้างความสามัคคี และที่สำคัญเป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามที่สืบ  งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อยโคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว                                                                                                  




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประเพณีลอยโคม




การปล่อยโคมลอยมี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ 


      1. ปล่อยโคมลอยในตอนกลางวัน เรียกว่า ว่าว โดยทำโคมด้วยกระดาษสี แล้วให้ลอยสู่ท้องฟ้าด้วยความร้อนคล้ายบอลลูน เพื่อปล่อยทุกข์โศกและสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ไป
     2. ปล่อยโคมลอยในเวลากลางคืน เรียกว่า โคมไฟ โดยใช้ไม้พันด้ายเป็นก้อนกลม ชุบน้ำมันยางหรือน้ำมันขี้โล้แขวนปากโคม แล้วจุดไฟปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้า เพื่อเป็นการบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์
      สำหรับการลอยโขมดหรือการลอยกระทงของล้านนา จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ เช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า ลอยโขมดนั้น เนื่องจากกระทงเมื่อจุดเทียนแล้วปล่อยลงน้ำ จะมีแสงสะท้อนกับเงาน้ำวับแวมดูคล้ายแสงของผีโขมด ชาวล้านนาจะลอยกระทงเล็กๆ กับครอบครัว เพื่อนฝูง ในวันขึ้น 15 ค่ำ ส่วนกระทงใหญ่ที่ร่วมกันจัดทำ นิยมลอยในวันแรม 1 ค่ำ กระทงเล็กของชาวเชียงใหม่ แต่เดิมใช้กาบมะพร้าว ที่มีลักษณะโค้งงอ เหมือนเรือเป็นกระทง แล้วนำกระดาษแก้วมาตกแต่งเป็นรูปนกวางดอกไม้ และประทับไว้ภายใน
  

 โคมลอยอาจตกสู่พื้นขณะไฟยังลุกอยู่ ทำให้เป็นอัคคีภัย[4] ในการออกแบบตรงแบบ ตราบเท่าที่โคมตั้งตรงอยู่ กระดาษจะไม่ร้อนจนติดไฟ แต่หากโคมเอียง (อาจเกิดจากลมหรือการชนวัตถุบางอย่าง) โคมอาจติดไฟขณะอยู่ในอากาศ ปกติกระดาษจะไหม้หมดในไม่กี่นาที แต่ต้นเพลิงยังจุดอยู่จนตกถึงพื้น

หลังบอลลูนตก โครงลวดบางที่เหลือจะสลายไปช้ามาก เหลือเป็นภัยต่อสัตว์ที่อาจไปกลืนมัน[5] ใน ค.ศ. 2009 บริษัทอังกฤษ สกายออบส์ไชนีสแลนเทินส์ พัฒนาโคมซึ่งมีเชือกกันไฟสลายได้ทางชีวภาพแทนลวดโลหะ[6] ผู้ผลิตสัญชาติยุโรปอื่นอีกมากรับการออกแบบคล้ายกันนี้ ใน ค.ศ. 2012 บริษัทเดียวกันออกการออกแบบที่ได้สิทธิบัตรโดยมีฐานกันไฟหลังมีรายงานโคมทำให้เกิดไฟ[





































วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

สิ่งที่ได้รับจากเรื่องที่ดู

ในศตวรรษที่21 เด็กควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับโลก ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี ความรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ด้านสิ่งเเวดล้อม นอกจากนี้เด็กยังควรได้รับการปลูกฝังทักษะ 3 เรื่องอีกด้วย คือ 1 ทักษะชีวิตและการทำงาน 2 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 3 ทักษะด้านสาระสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี  การเรียนแบบ Project Based Learning หรือ PBL เป็นการเรียนที่ฝึกให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการทำงานจริง หรือโปรเจคต่างๆ โดยที่ครูเป็นเพียงโค้ชที่คอยช่วยเหลืออยู่ข้างๆ การเรียนแบบนี้จะช่วยให้เด็กฝึกทักษะต่างๆ ที่สำคัญที่สุดคือ ได้ฝึกการทำงานเป็นทีม นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความรู้ด้วยกัน Professional Learning Community หรือ PLC เป็นเครื่องมือที่จะช่วยครูในการออกแบบการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเหมาะสม ซึ่ง PLC จะเข้ามาแทนที่การทำงานแบบสั่งการ เน้นให้ทุกฝ่ายมารวมตัวกันเป็นชุมชนการเรียนรู้ สามารถพัฒนาและปรับปรุง PBC เพื่อให้เด็กได้มีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 

แนวคิดที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

เราจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโลก ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ และอีกหลายๆอย่าง และฝึกทักษะ  3 เรื่อง คือ 1 ทักาะชีวิตและการทำงาน 2 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 3 ทักษะด้านสาระสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เพื่อเป็นการเรียนที่ฝึกและเรียนรู้ผ่านการทำงานจริง และได้ฝึกการทำงานเป็นทีม

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559

เพลง อยู่ไม่ไหว

ประวัติเพลง อยู่ไม่ไหว

 ล่าสุด จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯพร้อมเปิดตัวนักร้องหนุ่มลูกครึ่งไทย อเมริกัน ฟิลิปปินส์ "JUSTIN- จัสติน ผ่องอำไพ" ออกมาพร้อมเพลง และมิวสิกวีดีโอซิงเกิ้ลแรก "อยู่ไม่ไหว" ซึ่งเป็นเพลงที่จัสตินมีส่วนร่วมในการนำเสนอเนื้อหาที่มาจากชีวิตจริงของเขาผ่านดนตรี แนว Pop Rock กับเนื้อหาความรู้สึกของผู้ชายคนหนึ่ง หลังการสูญเสียคนรักโดยเมื่อวันก่อนได้ยกกองไปถ่ายทำเอ็มวีเพลง "อยู่ไม่ไหว" ที่ จ. นครนายก ภายใต้เส้นเรื่องเกิดจากวันนึง ขณะที่ จัสติน กำลังขอแฟนสาวแต่งงาน แต่เหตุการณ์พลิกผัน เมื่อสาวคนนี้เข้ามาบอกว่ากำลังจะแต่งงานเท่านั้น จัสตินจะยังอยูไหวรึเปล่า เมื่อผู้ชายคนนั้นไม่ใช้เค้า ต้องไปติดตามชมกัน โดย จัสติน เผยความรู้สึกว่า..."เพลงแรกในชีวิตเสร็จแล้วก็รู้สึกดีใจและตื่นเต้นมากกับผลงานที่ทำไป อยู่แกรมมี่มา 3ปี กว่าจะได้เพลงที่มันลงตัวกับเราที่สุด และวันนี้ก็ได้ออกมาแล้วครับ อีกอย่างเพลงนี้มาจากเรื่องจริงในชีวิตของผมเกี่ยวกับการสูญเสียเพื่อน ครอบครัว แฟน ผมเล่าเรื่องชีวิตให้พี่เอกทีมแต่งเนื้อบลูด๊อกซ์ฟังและพี่เค้าก็แต่งออกมาได้เข้ากับชีวิตจริงผมมาก ตอนร้องอินมากเลย เพราะมันมาจากความรู้สึกลึก ๆ ของผมเองเนื้อหาของเพลงก็จะพูดถึงการสูญเสีย แฟน หรือ ครอบครัว เรื่องความรักกับคนที่จากไป ว่าเราจะอยู่ต่อไหวมั้ย ประมาณนั้น และเพิ่งถ่ายเอ็มวีของผมครั้งแรกเสร็จไปด้วย พอใจมาก แสดงไปเต็มที่เลย เรื่องจะออก ดราม่า ๆ หน่อย ๆ ในเรื่องผมคบกับแฟน ทะเลาะกันไปมา จนวันนึงจะขอเค้าแต่งงาน แต่เค้ามาบอกว่าเค้ากำลังจะแต่งงานกับคนอื่น ก็ทำเอาผมช๊อคไปเลย ตอนแสดงก็ต้องมีฉากร้องไห้บ้าง ต้องเข้าไปลึกพอสมควรกับนางเอกเล่นกับเค้าครั้งแรกก็รู้สึกสบายใจนะ นิสัยเค้าดีมาก ไม่เครียด มีแค่ฉากสวีท เลิฟซีน ก็มีเขินบ้างนะครับเพราะยังไม่คุ้นกัน แต่พอถ่ายไปเรื่อย ๆ พอเราชินความเขินมันก็หายไปเองครับ ผมก็อยากขอฝากผลงานเพลงแรกในชีวิตผมเพลง อยู่ไม่ไหว ด้วยครับ ทำงานหนักกันมาพอสมควรกว่าจะได้เพลงนี้ออกมา ปลื้มที่เพลงได้ออกแล้ว คิดว่าเพลงนี้น่าจะโดนใจหลายๆคนกับอารมณ์ของการ อยู่ไม่ไหว ครับ”